วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2560

ศิลปะยุคก่อนไทย



 ช่วงแรก
ศิลปะไทยแบ่งได้เป็นยุคต่าง ๆ  ดังนี้
1.)  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ไทย  คือ
      1.  แบบทวาราวดี  (ราว  พ.ศ.  500 - 1200)
      2.  แบบศรีวิชัย  (ราว  พ.ศ.  1200 - 1700)
      3.  แบบลพบุรี  (ราว  พ.ศ.  1700 - 1800)  หมดช่วงแรก
ช่วง2
1.  แบบทวาราวดี  (ราว  พ.ศ.  500 - 1200)
      เป็นฝีมือของชนชาติอินเดียซึ่งอพยพมาสู่สุวรรณภูมิ  ศูนย์กลางอยู่นครปฐม  เป็นศิลปะแบบอุดมคติ  รุ่นแรกเป็นฝีมือชาวอินเดีย  แต่สมัยหลังเป็นฝีมือของชาวพื้นเมืองโดยสอดใส่อุดมคติทางความงาม  ตลอดจนลักษณะทางเชื้อชาติ  ศิลปะที่สำคัญคือ
      1.  ประติมากรรม
      พระพุทธรูปแบบทวาราวดี  สังเกตได้ชัดเจนคือพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทและยก
พระหัตถ์ขึ้น  โดยส่วนมากสลักด้วยหินปูน  ภาพสลักมากคือบริเวณพระปฐมเจดีย์  คือ
ธรรมจักรกับกวางหมอบ
      2.  สถาปัตกรรม
      ที่ปรากฎหลักฐานบริเวณนครปฐม  กาญจนบุรี  ราชบุรี  อ่างทอง  สุพรรณบุรี  ได้แก่
สถูปลักษณะเดินดิน  ทำเป็นมานาวผ่าซีก  หรือรูปบาตรคว่ำ  อยู่บนฐานสีเหลี่ยม  เช่น
เจดีย์นครปฐมองค์เดิม  หมดช่วง2
ช่วง3
2.  แบบศรีวิชัย  (ราว  พ.ศ.  1200 - 1700)
      เป็นศิลปะแบบบอินดีย - ชวา ศูนย์กลางของศิลปะนี้อยู่ที่ไชยามีอาณาเขตของศิลปะศรีวิชัย  เกาะสุมาตรตรา  พวกศรีวิชัยเดิมเป็นพวกที่อพยพมาจากอินเดียตอนใต้  แพร่เข้ามาพร้อมกับพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน  ได้สร้างสิ่งมหัสจรรยทของโลกไว้
อย่างหนึ่ง
โดยสลักเขาทั้งลูกให้เป็นเขาไกลลาส  คือ  สถูปโบโรบูเดอร์
      ศิลปะกรรมในประเทศไทย  คือ
      1.  ประติมากรรม
      ค้นพบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  ทำเป็นสัมฤทธิ์ที่ไชยา  โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ถือว่าเป็นศิลปะชั้นเยื่ยมของแบบศรีวิชัย
      2.  สถาปัตยกรรม
      มีงานตกแต่งเข้ามาปนอยมากู่ในสถูป  เช่นสถูปพระบรมธาตุไชยา   สถูปวัดมหาธาตุ หมดช่วง 3
ช่วง 4
3.  แบบลพบุรี  (ราว  พ.ศ.  1700 - 1800)
      ศิลปะแบบนี้คล้ายของขอม  ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองลพบุรี  ศาสนาพราหมณ์เข้ามามีบทบาทตามความเชื่อ  สร้างเทวาสถานอัน
ใหญ่โตแข็งแรงคงทนถาวร  เช่น  ปราสาทหินพนมรุ้ง  นครวัด  นับเป็นสิ่งมหัสจรรย์ของโลก
      1.  ประติมากรรม
      สร้างพระพุทธรูป  พระโพธิสัตว์  พระพุทธรูปสมัยลพบุรีเปลือยองค์ท่อนบน  พระพักตร์เกือบเป็นสีเหลี่ยม  มีฝีมือในการ
แกะลวดลายมาก
      2.  สถาปัตยกรรม
      สร้างปรางค์เป็นเทวสถาน  การก่อสร้างใช้งวัสดุที่แข็งแรงทนทาน  ที่มีอยู่ตามท้องถิ่น  เช่น  ศิลาแลง  หินทราย  ศิลปะที่สำคัญได้แก่  ปรางค์ลพบุรี  หมดช่วง4

ศิลปะยุคก่อนสากล

 ช่วงแรก 1

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรจดบันทึกเรื่องราวของสังคม นักโบราณคดีเป็นผู้ศึกษาเรื่องราวของสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นหลักโดยศึกษาจากซากพิมพ์ดึกดำบรรพ์หรือพิมพ์หิน โบราณสถาน โบราณวัตถุ โครงกระดูก สิ่งของเครื่องใช้ ภาพวาดตามผนังหรือบนสิ่งของต่างๆ เป็นต้น โดยสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีการแบ่งเป็นยุคย่อย คือ ยุคหินกับยุคโลหะ ทั้งนี้ยุคหินยังมีการแบ่งออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และ ยุคหินใหม่ ส่วนยุคโลหะก็มีการแบ่งเป็นยุคสำริดกับยุคเหล็ก


สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษร การศึกษาค้นคว้าจะใช้หลักฐานโบราณคดี เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ ภาพวาดตามฝาผนังถ้ำ ฯลฯ สมัยก่อนประวัติศาสตร์จะแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคหินและยุคโลหะ โดยแบ่งตามระดับความเจริญก้าวหน้าในการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ หมดช่วง 1
ช่วง2
1. ยุคหิน (Ston Age) ยุคหินแบ่งออกเป็นยุคย่อย 3 ยุค คือ ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่
1.1. ยุคหินเก่า มีอายุประมาณ 2,000,000 - 8,000 ปี ก่อนคริสตกาล
1.1.1 มนุษย์ในยุคหินเก่าต้องพึ่งพาธรรมชาติมาก ดำรงชีวิตด้วยการเก็บหาผลไม้และล่าสัตว์ป่าเป็นอาหาร จอยู่อาศัยตามถ้ำ และรู้จักใช้ไฟหุงต้มอาหาร
1.1.2 ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม ส่วนใหญ่เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำ เป็นรูปสัตว์ป่า ผลงานที่ดีที่สุดแสดงถึงวัฒนธรรมขั้นสูงของมนุษย์ยุคหินเก่า คือ ภาพวาดรูปสัตว์บนฝาผนังถ้ำ อัตตามิรา (Altamira) ในประเทศสเปน
1.2. ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 8,000 ปี ก่อนคริสตกาล
1.2.1 มนุษย์ยุคหินกลางรู้จักการตั้งถิ่นฐานภายนอกถ้ำ เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยหินแต่มีความประณีตมากขึ้น รู้จักทำศรธนูล่าสัตว์ ทำขวานหิน ทำการเพาะปลูก จับปลา และปั้นหม้อไหด้วยดินเหนียวตากแห้ง
1.2.2 ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม มีภาพวาดตามชะง่อนหินผา ในเขตชายฝั่งตะวันออกของประเทศสเปน แต่จะมีรูปมนุษย์และรูปสัตว์ปรากฎในภาพร่วมกัน สันนิษฐานว่ามนุษย์ในยุคหินกลางคงมีความเชื่อเรื่องวิญญาณ  หมดช่วง 2
ช่วง3
1.3. ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล
1.3.1 มนุษย์ยุคหินใหม่ รู้จักผลิตอาหารได้เอง รู้จักการทอผ้า ใช้เครื่องนุ่งห่มและทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ยังทำด้วยหิน เขาสัตว์ หรือกระดูกสัตว์ แต่พัฒนาฝีมือประณีตขึ้น จึงมักเรียกยุคนี้ว่า "ยุคหินขัด" ตลอดจนรู้จักการนำสุนัขมาเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน
1.3.2 การตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนและพัฒนาเป็นสังคมเกษตรกรรม มนุษย์ในยุคหินใหม่หยุดการเร่ร่อนติดตามฝูงสัตว์ จะตั้งถิ่นฐานถาวรเป็นกระท่อมดินเหนียวหรือไม้อย่างง่ายๆ รวมตัวเป็นหมู่บ้าน มีผู้นำ หัวหน้าเผ่า และประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีการค้า มีช่างฝีมือ ฯลฯ มีความเจริญมากขึ้น
1.3.3 ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม มีเครื่องประดับตกแต่ง เครื่องใช้ประเภทเครื่องปั้นดินเผาและอนุสาวรีย์หิน ซึ่งเป็นงานสถาปัตยกรรมพื้นฐานของมนุษย์ ที่มีชื่อเสียงมาก คือ "สโตนเฮนจ์" (Stonehenge) ในอังกฤษ สันสวงอาทิตย์ หมดช่วง3

ช่วง4
2. ยุคโลหะ(Metal Age) แบ่งออกเป็น 2 ยุคย่อย คือ ยุคสำริดและยุคเหล็ก
2.1 ยุคสำริด (Bronze Age) ยุคสำริดเริ่มต้นในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกเมื่อประมาณ 4,000 – 2,700 ปีมาแล้วสำริดเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก กรรมวิธีการทำสำริดค่อนข้างยุ่งยาก ตั้งแต่การหาแหล่งแร่ การเตรียม การถลุงแร่ และการผสมแร่ในเบ้าหลอม จากนั้นจึงเป็นการขึ้นรูปทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยการตีหรือการหล่อในแม่พิมพ์หินทรายหรือแม่พิมพ์ดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ในยุคสำริดที่พบตามแหล่งต่าง ๆ ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก นอกจากทำด้วยสำริดแล้ว ยังพบเครื่องมือเครื่องใช้ทำจากดินเผา หิน และแร่ ในบางแหล่งมีการใช้สำริดต่อเนื่องมาจนถึงยุคเหล็ก เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากสำริดมีขวาน หอก ภาชนะ กำไล ตุ้มหู ลูกปัด ฯลฯ ในยุคนี้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปมากทั้งด้านการเมืองและสังคม ชุมชนเกษตรกรรมขยายตัวจนกลายเป็นชุมชนเมือง จึงมีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ตามความสามารถ เช่น กลุ่มอาชีพ มีการจัดระเบียบสังคมเป็นกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการผลิต อันนำไปสู่ความมั่นคงปลอดภัยกว่าเดิม และมีความสะดวกสบายมากขึ้น นำไปสู่พัฒนาการทางสังคมสู่ความเป็นรัฐในเวลาต่อมา หมดช่วง4

 ช่วง5
2.2 ยุคเหล็ก (Iron) ประมาณ 2,700 – 2,000 ปีมาแล้ว ช่วงเวลานี้เริ่มต้นการพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีการผลิตโลหะของมนุษย์ที่สามารถหลอมโลหะประเภทเหล็กขึ้นมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ได้ เหล็กมีความแข็งแกร่งคงทนกว่าสำริดมาก การผลิตเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูงและมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก สังคมที่สามารถพัฒนาการผลิตเหล็กจะสามารถพัฒนาสู่ความเป็นรัฐ เพราะการผลิตเหล็กทำให้สังคมสามารถผลิตอาวุธได้ง่ายและแข็งแกร่งขึ้น จนสามารถขยายกองทัพได้ และมีเครื่องมือที่เหมาะสมต่อการทำการเกษตรที่มีความคงทนกว่า แหล่งอารยธรรมแห่งแรกที่สามารถผลิตเหล็กได้ คือ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย เมื่อประมาณ 3,200 ปีมาแล้ว ยุคเหล็กมีความแตกต่างจากยุคสำริดหลายประการ คือ การพัฒนาการผลิตเหล็กทำให้กองทัพมีอาวุธที่แข็งแกร่งนำไปสู่พัฒนาการทางสังคมจนกลายเป็นรัฐที่มีกำลังทหารที่เข็มแข็ง เข้ายึดครองสังคมอื่น ๆ ขยายเป็นอาณาจักรในเวลาต่อมา  หมดช่วง5